ยังไม่ปรากฏสิ่งใดๆ(มีความว่างเปล่า) พระอาตมภูหรือพระพรหม(ผู้เกิดเอง)ประสงค์จะสร้างทุกสิ่ง
ทุกอย่างบนโลก จากนั้นจึงสร้างน้ำขึ้นมาก่อนแล้วจึงนำพืชโปรยลงบนพืนน้ำพอ
เวลาผ่านไปพืชนั้นกลายเป็นไข่ทองคำและกำเนิดขึ้นมาเอง
เป็นพระพรหม มีพระนามว่า"หิรัณยครรภ์ หลังจากนั้นพระพรหมจึงแบ่งร่างกายเป็นชาย-หญิงเพื่อสร้างโลกและมนุษย์ต่อมา..อีกตำนานหนึ่ง
ในคัมภีร์มนัสนปุรณะเล่าว่าพระพรหมหรือที่เรียกว่า"อาปวะ
หลังกำเนิดขึ้นแล้วพระองค์แบ่งเป็น2ภาคซึ่งภาคหนึ่งเป็น
ชายคนแรกของโลกส่วนอีกภาคหนึ่งแบ่งเป็นหญิงคนแรกของ
โลกมีนามว่า"ศตรูปา"หรือสรัสวดี ต่อมาช่วยกันสร้างโลก มีเทวดา มนุษย์ อสูร และสรรพสัตว์สรรพพืชพันธุ์ในโลก
เหตุที่ทำให้พระพรหมมีถึง๕ เศียร เรื่องมีอยู่ว่าพระองค์ทรงหลงรักและหวงแหนพระมเหสี (พระสุรัสวดีพระมเหสีของพระองค์มีหลายพระนาม อาทิ สรัสวดี ศตรูปา สาวิตรี คายตรี พราหมณี) เพื่อคุ้มครองพระมเหสีองค์นี้ด้วยว่าไม่ว่าจะเสด็จที่ใดก็ตาม พระองค์จะทรงใช้ตาที่เศียรทั้ง ๕ เศียรของ พระองค์เฝ้าติดตามไม่ว่าจะเกิดเหตุใดขึ้นก็ตามจะได้ช่วยทันทุกเวลา
ในอินเดียสมัยโบราณ พระพรหมเป็นเทพ(ผู้สร้างโลก) ได้รับการยกย่องโดยพวกพราหมณ์เชื่อว่า"พระพรหมเป็น
ฤาษีองค์แรกของศาสนาพราหมณ์และเป็นมหาเทพที่มีบุญบารมีสูงส่งกว่าเทพและเทวดาทั่วไป และวิวัฒนาการทางความเชื่อทางศาสนา และศิลปกรรมของอินเดียมีการ เปลี่ยนแปลง ตามแคว้นต่าง ๆ เสมอรวมถึงการเปลี่ยนแปลงตามประเพณีความเชื่อในช่วงสมัยนั้น ๆ โดยมีการนับถือตามนิกายต่าง ๆ ของความ เชื่อที่มีอยู่นั้น เช่น นิกายไศวะ หรือไศวะนิกาย และไวษณพนิกาย หรือไวษณวนิกาย ทั้ง ๒ นิกายให้ความเคารพนับถือเทพ คือพระศิวะ และ พระวิษณุเป็นพิเศษ จึงลดความศรัทธาความเชื่อถือพระพรหมลง และเมื่อเวลาผ่านถึง ค.ศ. ที่ ๑๐ ชาวฮินดูจึงหันมาให้ความเคารพ นับถือพระพรหมจากที่นิกายไศวะ และไวษณพนิกาย ซึ่งมีการแข่งขันกันทางด้านความเชื่ออยู่ พระพรหมจึงกลายเป็นเทพองค์สำคัญขึ้นมาใหม่ โดยมีการสร้างเทวาลัย และรูปปั้นไว้เป็นจำนวนมาก พระพรหมได้รับการนับถือบูชาในฐานะที่พระองค์เป็นผู้สร้าง
ของทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้นบนโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ให้ที่สำคัญ และเป็นผู้กำหนดโชคชะตาของมนุษย์ พระนาม ที่เรียกขานกันมีมากมายนอกเหนือจากพระพรหม หรือ พระพรหมธาดา เป็นต้นว่า ราชคุณ หมายถึง ความมี
กิเลสและความปรารถนา และมูลเหตุของการสร้างโลกทั้งปวง สวายัมภู หมายถึง ผู้เกิดเอง กมลสาส์น และปัทมสาส์น หมายถึง
ผู้นั่งบนดอกบัว ซึ่งเกิดมาจากสะดือของพระวิษณุ คัมภีร์ฤคเวท ปรากฏพระนาม ปชาบดี คัมภีร์รามายณะ ปรากฏพระนามอื่นๆ
คือ ปรเมศวร วิธิ-เวธาส อทิกวี สนัต ชาตริวิชาตริ ปิตามหะ ทรุหิณ-สราษฎริ โลเกศ ลักษณะทางศิลป์ รูปเคารพของพระพรหมที่พบในปัจจุบันมีรูปเคารพ ๔ ปาง ๕ พระนาม ซึ่งมีลักษณะทางศิลป ดังนี้ ปางประชาบดี พระพรหม
พระวรกายสีขาว สวมอาภรณ์หนังกวางสีดำพาดบ่า มี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือช้อน แจกัน และการทำปางประทานพร
ด้านขวาของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสรัสวดี ด้านซ้ายของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสาวิตรียืนประทับอยู่ พาหนะคือ หงส์
ปางโลกบาล พระพรหมมี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือลูกประคำ หนังสือ ดอกบัว และแจกัน ด้านข้างมีนางสาวิตรี (๔ พักตร์)
ประทับยืนด้วย ปางวิศวกรรม พระพรหมมี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือ ช้อน หนังสือ แจกัน และลูกประคำ ปางกามลักษณะ
ปางปิตมหา พระพรหมมี ๔ พักตร์ พระเกศามุ่นขมวด มี ๔ กร ถือ หนังสือ แจกัน หม้อ และช้อน
มเหสีของพระพรหม:พระสุรัสวดี สาวิตรี คายตรี (คือองค์เดียวกันหมด)
วันประจำพระองค์คือ วันพฤหัสบดี พาหนะบริวารคือ สุวรรณหงส์
เครื่องบวงสรวง: อาหารมังสวิรัติ นมสด มะพร้าวอ่อน ผลไม้มงคลต่างๆ พวงมาลัย ดอกมะลิ-ดอกกุหลาบ
คาถาบูชาพระพรหม:โอม สะระเวภะโย พรหมมา เนพะโย นะมะฮา
คาถาบูชาพระพรหม (แบบที่ 2)
โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัม ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัมทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัม สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเต นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ
คาถาบูชาพระพรหม
คาถาบูชาพระพรหม แบบย่อ
โอม อหัม ปรัหมา อัสมิ
คาถาบูชาพระพรหม ผู้ใดสักการะและบูชาพระพรหม
จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เป็นที่รักใคร่ของคนทั้งหลาย |