ขั้นตอนและบทสวด สำหรับงานทำบุญบ้าน

งาน ทำบุญบ้าน ผู้นำสวดหรือผู้เตรียมงานควรทำตัวสบาย ๆ ไม่ยึดติดกับขั้นตอนจนเกินไป
และที่สำคัญกรุณาตรวจสอบกับพระสงฆ์ผู้รับนิมนต์ ล่วงหน้าก่อนวันงาน
ในส่วนที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ มีขั้นตอนคร่าว ๆ ในวันงาน ประมาณนี้

เตรียมสถานที่ และอื่น ๆ เช่น น้ำดื่ม ทิชชู และกระโถน
นิมนต์พระสงฆ์เข้ายังสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ ถวายน้ำดื่ม และสนทนากับท่าน เมื่อท่านพร้อม เริ่มพิธีได้
จุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา — ประธานฝ่ายฆราวาสจุดเทียนด้านขวาของพระพุทธ เทียนด้านซ้าย และธูป ตามลำดับ
กราบพระพุทธ แบบเบญจางคประดิษฐ์ — ประธานฝ่ายฆราวาส
กล่าวบูชาพระรัตนตรัย — ผู้นำสวดและประธานฝ่ายฆราวาส

ขั้นตอนที่ 1 กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย และ บทกราบนมัสการพระรัตนตรัย

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมะ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมะ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมะ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)

ขั้นตอนที่ 2 อาราธนาศีล 5 — ผู้นำสวดกล่าว

มะยังภันเต วิสูง วิสูง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ  มะยังภันเต วิสูง วิสูง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ  มะยังภันเต วิสูง วิสูง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

กล่าวพระไตรสรณาคมน์ — พระสงฆ์กล่าวนำ ฆราวาสว่าตาม ขอถือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(ภิกษุกล่าว) ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง (ฆราวาสรับว่า) อามะ ภันเต

สมาทานศีล — ฆราวาสทั้งหมดกล่าวตามพระสงฆ์

ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

กาเมสุมิฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สะมาทิยามิ (3 ครั้ง)

(ภิกษุกล่าว) ศีเลนะสุขคติงยันติ   (ฆราวาสรับ) สาธุ
(ภิกษุกล่าว) ศีเลนะโภคะสัมปะทา   (ฆราวาสรับ) สาธุ
(ภิกษุกล่าว) ศีเลนะนิพพุติงยันติ ตัสสมา ศีลัง วิโสทะเย   (ฆราวาสรับ) สาธุ

อาราธนาพระปริต — ผู้นำสวดกล่าว

วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง

ประธานฝ่ายฆราวาสจุดเทียนสำหรับทำน้ำพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์สวดถึง “อเสวนา จ พาลานัง”

ถวายข้าวพระพุทธ — ประธานถวายพระพุทธโดยวางภัตตาหารบนโต๊ะหรือผ้าขาวด้านหน้าโต๊ะหมู่ฯ วางให้สูงกว่าอาสนะพระสงฆ์

อิมัง สูปะพยัญชนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมะ

ประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ — ฆราวาสช่วยกันประเคน

เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วให้นำ จตุปัจจัย ดอกไม้ ธูป เทียน และหรือสังฆทานมาวางรอไว้ที่หน้าพระสงฆ์ทุกรูป ดอกไม้วางขนานปลายดอกไม้ชี้ไปทางด้านขวามือของพระสงฆ์
และเจ้าภาพเข้ามาที่ต่อหน้าพระเพื่อยกถวาย หลังจากที่กล่าวคำถวายสังฆทานแล้ว

ลาข้าวพระพุทธ — ประธานฝ่ายฆราวาสและผู้นำสวดกล่าว

เสสัง มังคะลา ยาจามะ

ถวายสังฆทาน — ผู้นำสวดกล่าว

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อิมานิ มะยัง ภันเต   ภัตตานิ สะปะริวารานิ   ภิกขุสังฆัสสะ  โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ   ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระสงฆ์สงฆ์  ขอพระสงฆ์สงฆ์โปรดรับ ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ

พระสงฆ์สวดอนุโมทนา  เจ้าภาพและผู้ร่วมงานกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศล
พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมทั้งสวดชยันโตฯ  ฆราวาสพนมมือ รับน้ำพระพุทธมนต์
เจ้าภาพนำจตุปัจจัยขึ้นรถ เพื่อส่งพระกลับวัด
เสร็จพิธี

ข้อมูลเพิ่มเติม
สายสิญจน์ วนรอบฐานพระพุทธรูป 3 รอบ เริ่มจากปลาย วนซ้ายไปขวา แล้วหาพานวางด้ายสายสิญจน์ที่เหลือไว้ใกล้ ๆ เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ประกอบการเจริญพระพุทธมนต์ต่อไป ใกล้ ๆ กับพานวางสายสิญจน์จะเป็นที่ตั้งของบาตรน้ำมนต์
ถ้าหากมีการเจิมประตู ให้นิมนต์พระสงฆ์เจิมหลังจากที่ท่านพรมน้ำพระพุทธมนต์แล้ว  และให้มีผู้ถือขันน้ำมนต์ พร้อมทั้งเดินนำท่านว่าจะให้ไปที่ใด และต้องเตรียมสถานที่และอุปกรณ์สำหรับเจิมให้เรียบร้อย ได้แก่ ขี้ผึ้งสำหรับติดแผ่นทอง แผ่นทอง หรืออาจใช้เพียงแป้งเจิม วางบันไดหรือเก้าอี้เพื่อให้พระสงฆ์ผู้เจิมยืนได้สะดวก
การพรมน้ำมนต์หรือเจิมประตู ควรเลือกเพียงนิดหน่อย พอสมควร เพื่อความเหมาะสม
เวลาอาราธนาศีล ไม่ต้องขึ้น นโมฯ เพราะจะรับกับพระขณะที่ท่านให้ศีลอยู่แล้ว ส่วนบทอื่นๆ ให้ขึ้นนโมฯ ก่อนทุกครั้ง
อาราธนาธรรม กรณีมีการแสดงธรรม — ผู้นำสวดกล่าว  เมื่อพระสงฆ์แสดงธรรมเสร็จ ก็ถวายจตุปัจจัยไทยทานตามกำลังศรัทธา

พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีถะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
ทเสตุ ฮัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง