ขนาดขององค์พระ
ความสูง 1.85 ม.
ฐานกว้าง 1.35 ม.
ความลึก 83 ซม.
…………………………………..
ขนาดเฉพราะฐาน สูง 78 ซม. ( เฉพราะอง์พระ สูง 1.10 ม.)
พระพุทธสิหิงค์ ทองเหลือง พ่นทอง หน้าตัด 30 นิ้ว
ประวัติและความเป็นมา ของพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร [1]เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ต่อมา พระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งราชอาณาจักรตามพรลิงก์ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมา ได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2205 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2338 โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล[2] นิยมเชิญออกมาช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ประชาชนไทยได้สักการะและสรงน้ำ
ตามตำนานเล่าสืบต่อกันถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระพุทธสิหิงค์ว่า
“การสร้างได้ประกอบขึ้นด้วยแรงอธิษฐาน 3 ประการคือ 1) คำอธิษฐานของพระอรหันต์ผู้ร่วมพิธี 2) แรงอธิษฐานของพระเจ้ากรุงลังกาผู้สร้าง 3) อานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่พระพุทธสิหิงค์เสด็จประทับอยู่ที่ใด พระพุทธศาสนาย่อมรุ่งเรืองดังดวงประทีปเสมือนหนึ่งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่”[3]
ส่วนพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานที่จังหวัดเชียงใหม่และนครศรีธรรมราชนั้น จะเป็นพุทธลักษณะปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนสิงค์ 1 คือจะเป็นพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร ส่วนองค์ที่กรุงเทพจะเป็นแบบขัดสมาธิราบ