สิ่งของเครื่องใช้งานพิธีสวดพระอภิธรรม หลัก ๆ เช่น |
- ชุดโต๊ะหมู่บูชา
- โต๊ะหมู่บูชา หมู่ 7 หรือ 9, มีแจกัน 1 คู่, เชิงเทียน 1 คู่, กระถางธูป 1 ใบ,
ที่จุดเทียนชนวน 1 อัน
- พระพุทธรูป ขนาด 9 นิ้ว (ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่)
- ภูสาโยง สำหรับทอดผ้าบังสุกุล (คิ๊กดูภาพตัวอย่าง)
- อาสนะพิง 4 ตัว
- อาสนะผ้าหลุย 4 ผืน (สำหรับปูด้านบนอาสนะพิงอีกที)
- ตาลปัตรสวดพระอภิธรรม 4 ด้าม
- ชุดตู้พระอภิธรรม (มีตู้ และโต๊ะรอง)
- หนังสือพระอภิธิธรรม (หนังสือพระมาลัย) ที่วางอยู่ด้านบนตู้อย่างที่เห็นในภาพตัวอย่าง
- แจกัน 1 คู่, เชิงเทียน 1 คู่, กระถางธูป 1 อัน
- กระโถน 2 ใบ
- กี๋น้ำร้อนน้ำชา 4 ชุด
- พานโตกอลูมิเนียม ขนาด (มีเล็ก กลาง ใหญ่) สำหรับวางดอกไม้ธูปเทียน
ผ้าไตร และปัจจัยต่าง ๆ
|
*** สิ่งของเครื่องใช้ในงานพิธีสวดพระอภิธรรรมนี้ ขึ้นอยู่กับศรัทธาของแต่ละบุคคล
จะเลือกถวายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ตามวัดต่างๆ เท่าที่เราๆท่านๆ เห็นก็จะมีแต่ของใช้เก่า ๆ
ซึ่งใช้งานบ่อยมากที่สุด (อานิสงส์มากสุดที่จะพรรณา) เพราะสิ่งของเครื่องใช้เหล่านี้
ก็คือสิ่งของที่ใช้ในงานของพุทธศาสนิกชนทั่วไป เป็นของสาธารณะ
ท่านใดที่มีศรัทธาจะซื้อถวายวัด...ติดต่อขอใบเสนอราคาสั่งซื้อได้ที่ร้านบูชาสังฆภัณฑ์
ในราคาไม่แพง บริการจัดส่งให้ทั่วประเทศ .... กรณีท่านมีศรัทธาจะซื้อถวายวัด
แต่ยังหาวัดไม่ได้ ทางร้านพร้อมที่จะอำนวยหาวัดที่ขาดแคลนให้ท่าน และประสานงาน
ในเรื่องการถวายและออกใบอนุโมทนาบัตรให้จากทางวัด |
|
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ พระอภิธรรม การสวดพระอภิธรรมในงานศพ |
ทุกท่านคงจะพบคำว่า สวดพระอภิธรรม หรือ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ในบัตรเชิญหรือในหน้า
หนังสือพิมพ์เพื่อเชิญไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลแด่ท่านผู้วายชนม์อยู่บ่อย ๆ ที่ว่า สวดพระอภิธรรม นั้น
เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้ย่อมทราบดีแล้วว่าหมายถึงอะไร
ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวดในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทย
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ ผู้วายชนม์นั้น
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่ พุทธศาสนิกชนชาวไทย
นำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่าง ๆ ดังนี้ |
|
ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึงบุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็นกลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อัน เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะมิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมาเปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์ ทำให้เห็นสัจจธรรมที่ แท้จริงของชีวิต ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพจะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง |
|
อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่ง สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมา แม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว |
|
ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูงที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงในงานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมากการสวดพระอภิธรรมก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้น ๆ ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน การสวดพระอภิธรรมนี้บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ นั่นเอง (สัตต = เจ็ด ปกรณ์ = คัมภีร์ ตำรา)
ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด |
|
ที่มา http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-07.htm |