การบวช ถือเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย และถือว่าเป็นการทดแทนคุณพ่อแม่ ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่า การทดแทนคุณพ่อแม่ที่ดีที่สุดคือ การทำให้ท่านมีความสุข และการที่จะทำให้ท่านมีความสุขที่ดีที่สุดคือ
การเป็นคนดี ทั้งต่อตนเองและสังคม และการที่จะเป็นคนดีที่ดีที่สุดก็คือ การบวช เพราะเมื่อ บวชเข้าไปแล้ว
ต้องรู้จักรักษากฎระเบียบต่างๆในการใช้ชีวิตเยี่ยงพระหรือนักบวช ต้องเรียนรู้หลักธรรม ของพุทธศาสนา ต้องเรียนและฝึกการประพฤติตนในทางที่ชอบ ต้องฝึกระงับตนไม่ให้เดินไปในทางที่ผิด ทั้งทางกาย วาจา และใจ
การบวชจึงเป็นการเข้าไปฝึกตนให้เป็นคนดี
จึงอาจถือได้ว่า การบวชคือการทด แทนคุณพ่อแม่และถือเป็นหน้าที่ของชายไทยที่นับถือ
ศาสนาพุทธทุกคนต้องถือปฏิบัติ ซึ่งชายใดที่ได้ ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว ถ้าจะไปสู่ขอหญิงใดเพื่อแต่งงาน พ่อแม่ของฝ่ายหญิงก็คงจะไม่ปฏิเสธ เพราะ ไว้ใจได้ว่าชายนั้นได้ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว ก็พอที่จะอนุมานได้ว่าชายนั้นเป็นคนดีพอสมควร และไว้ใจที่จะฝากชีวิตและอนาคตของหญิงสาวนั้น
ให้ฝ่ายชายดูแลต่อไป แต่ถ้าฝ่ายชายยังไม่ได้ผ่านการบวชมา ก่อน การเจรจาคงจะสำเร็จได้โดยยาก
ทำไมผู้ชายเท่านั้นที่บวชได้ อาจจะอธิบายได้ว่า ตามลักษณะของสังคมไทยนั้น ผู้หญิงได้ถูกบังคับทาง
สังคมอยู่ แล้วที่จะต้องประพฤติตนอยู่ในกรอบ กฎและระเบียบทางสังคมต่างๆ ส่วนฝ่ายชายนั้น มักจะ ทำตัวอยู่นอกกรอบ และประพฤติตนผิดกฎและระเบียบอยู่เสมอ สังคมจึงต้องสร้างธรรมเนียมการบวช ขึ้นมา เพื่อจับผู้ชายกลับเข้า ไปอยู่ในกรอบที่ดี อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับข้อบัญญัติทางศาสนาคือ
พระสงฆ์ต้องถือศีล 227 ข้อ ซึ่งไม่เป็นการเหลือวิสัยที่มนุษย์จะพึงปฏิบัติได้ ส่วนพระผู้หญิงต้องถือศีล
ถึงกว่า 300 ข้อ เห็นเหลือวิสัยที่จะถือปฏิบัติ จึงไม่นิยมให้มีการบวชพระผู้หญิง เพราะอาจจะทำให้ศีลเสียได้
ขั้นตอนในการบวช
ตามหลักความเป็นจริงแล้ว การบวชไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอะไรนัก เพียงเตรียมผ้าไตรคือ สบง จีวร สังฆาฏิ กับเครื่อง อัฏฐบริขารทั้ง 8 ซึ่งมึความจำเป็นในการดำรงชีวิตในสถานะนักบวช แล้วเข้าไปเอ่ยวาจาขอ บวชด้วยตนเองเป็น ภาษาบาลีกับอุปปัชฌา และกล่าวแสดงคำยืนยันในการเป็นมนุษย์ ไม่มีมลทินและ พันธะ ไม่มีหนี้สินค้างชำระ และได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองแล้ว เป็นอันว่าบวชได้ ซึ่งพิธีต่างๆ ต้องกระ ทำกันในโบสถ์เท่านั้น แต่เนื่องจากคนไทยถือว่าการบวชเป็นพิธีที่สำคัญและยิ่งใหญ่สำหรับชีวิตลูกผู้ชาย จึงจำเป็นต้องมีพิธีและขั้นตอนต่างๆ เพื่อประกาศให้ชุมชนได้รับรู้ พิธีเริ่มด้วยการโกนผม ซึ่งต้องให้บุค คลที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นผู้โกนให้ เช่น พ่อหรือแม่ โกนผมแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพตัวเอง จากการเป็นคนธรรมดาไปเป็น "นาค" โดยการนุ่งขาวห่มขาว ตอนเย็นก็จะเป็นพิธี "ทำขวัญนาค" โดย หมอขวัญหรือพระผู้ทำพิธีจะแหล่หรือเทศน์ โดยบรรยายถึงพระคุณของบุพพการีและผู้มีพระคุณต่างๆ ที่ "นาค" ต้องสำนึกในพระคุญ และหาทางตอบแทน และจะกล่าวถึงบารมีและบุญญาธิการของผู้ที่มีโอกาศได้บวช เมื่อเสร็จพิธีในช่วงเย็นแล้ว ก็จะรอจนถึงวันรุ่งขึ้น เพื่อเดินทางไปทำพิธีบวชอย่างเป็นทางการใน โบสถ์ต่อไป การเดินทางไปโบสถ์นั้น มักจะจัดเป็นขบวนใหญ่โตเพื่อให้สมเกียรติและฐานะ
เกี่ยวกับคำว่านาค มีเรื่องเล่ากันว่า ในสมัยพุทธกาล มีพระยานาคตัวหนึ่ง มีความประสงค์ที่จะบวชเป็น พระแต่ตัวเองเป็นพระยานาคไม่ใช่มนุษย์ จึงแปลงร่างเป็นมนุษย์แล้วไปขอบวชกับพระพุทธเจ้า ซึ่งพระ องค์ก็ทรงรู้ได้ด้วยญานแต่ก็มิได้ทรงห้าม เพราะไม่ต้องการให้พระยานาคเสียความตั้งใจและเสียหน้าพระ องค์ต้องการให้พระยานาคแสดงตนด้วยตนเอง อยู่ต่อมาเมื่อพระยานาคเผลอสติในขณะหลับ ร่างของ พระ ภิกษุจึงได้กลับเป็นพระยานาคดังเดิม พระยานาคจึงไม่อาจที่จะครองเพศสมณะอีกต่อไป จึงได้กลับ ไปสร้างสมบุญญาบารมีเพื่อที่จะ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และจะได้มีโอกาศบวชเป็นพระในชาติต่อไป
เนื่องจากพระยานาคเป็นผู้ที่มีความประสงค์และศรัทธาแรงกล้าที่จะบวชผู้คนทั่วไปจีงนิยมเรียกผู้ที่กำลัง จะบวช เป็นพระว่า " นาค "ดังเช่นพระยานาคผู้มีศรัทธานั้น
เข้าพรรษา ( พรรษาแปลว่า ปี )
ช่วงเวลาที่นิยมบวชกันมากของปีจะอยู่ในช่วงฝนตกชุกหรือหน้าฝน เนื่องจากในฤดูฝน ประชาชนทั่วไป จะทำการเพาะปลูกพืชเช่น ข้าวเป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงเกรงว่าพระภิกษุที่จาริกยังที่ต่างๆ อาจจะเหยียบ ย่ำไปบนพืชผล ที่ชาวบ้านปลูกเอาไว้ทำให้เกิดความเสียหายได้ พระองค์จึงได้ทรงกำหนดให้พระภิกษุอยู่ จำพรรษาในวัดตลอด เวลา 3 เดือนในช่วงฤดูฝน (แรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11)เป็นช่วงเวลาเข้าพรรษา [Lent] และจะต้องจำวัดในเสนาสนะ ( ที่อยู่ ) ที่มีฝากั้น 4 ด้าน พร้อมหลังคา และประตูหน้าต่าง ไม่สามารถจำวัดใน "กลด" ได้ ด้วยเหตุดังกล่าว พระจึงมีเวลาว่างมากที่จะศึกษาหาความรู้ ชาวบ้านจึงนิยมบวชบุตรหลานในช่วงเวลานี้ เพื่อ ศึกษาเล่าเรียนตลอดพรรษา
เทียนเข้าพรรษาหรือเทียนจำนำพรรษา คือเทียนขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านถวายให้วัดก่อนวันเข้าพรรษา เพื่อให้แสงสว่างแก่พระที่กำลังศึกษาเล่า เรียนอยู่ในวัดนั้นและยังหมายความถึงแสงสว่างแห่งพระศาสนาที่ส่องนำเหล่าพุทธศาสนิกชนให้เดินไป บนหนทางที่ถูกต้อง
|