ประเพณีทอดกฐินในปัจจุบัน
พิธีทอดกฐินสามัคคี ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษา ณ อาวาสดังกล่าวในช่วงเช้า
บางวัดจัดพิธีทอดกฐินต่อจาการตักบาตร ขึ้นในช่วงสายและต่อด้วยการถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์
บางวัดจัดให้พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาในช่วงสายเพื่อกลั้นกาย วาจา ใจ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์
การทอดกฐินจะทำในช่วงบ่าย โดยธรรมเนียมแล้ว มักมี “บริวารกฐิน” เพื่อถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ซึ่งไว้ใช้เป็นค่าใช้
จ่ายภายในวัดเป็นค่าน้ำค่าไฟตลอดทั้งปี รวมทั้งค่าก่อสร้างถาวรวัตถุซ่อมแซมเสนาสนะ และต่อเติมเสริมใหม่กิจการ
พระศาสนาขยายตัวได้อย่างมี ประสิทธิภาพ กิจกรรมที่มาพร้อมกับประเพณี กฐินคือ “ขบวนอัญเชิญผ้ากฐิน” ซึ่งขึ้นกับ
แต่ละวัด แต่ละท้องถิ่นจะบรรลุสิ่งสวยงาม ทรงคุณค่า คู่ควรกับความสำคัญของพิธีทอดกฐินซึ่งจัดพียงปีละครั้ง ริ้วขบวน
อาจประกอบด้วย ขบวนธงธิว ถ้าภาคเหนืออาจเป็นตุง ขบวนพานพุ่มดอกไม้ โดยใช้ทั้งสาธุชนและบุตรหลานเยาวชนมา
ร่วมขบวน ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาของไทยที่หล่อหลอมให้เยาวชนได้เข้าวัดเข้าวาวัดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
การทอดกฐินเป็นบุญพิเศษที่ทำได้ยากกว่าบุญอื่น ด้วยสาเหตุหลายประการ คือ
1. จำกัดกาลเวลา คือ ต้องถวายภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันออกพรรษา
2. จำกัดชนิดทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้นจะถวายเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
3. จำกัดคราว คือ แต่ละวัดรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐินได้จะต้องจำพรรษา
ที่วัดนั้นครบไตรมาส (3 เดือน) และต้องมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป
4. จำกัดงาน คือ เมื่อพระภิกษุรับผ้ากฐินแล้ว จะต้องกรานกฐินให้เสร็จภายในวันนั้น
5. จำกัดของถวาย คือ ไทยธรรมที่ถวายต้องเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวรเท่านั้น โดยทั่วไปนิยมใช้สังฆาฏิ ไทยธรรม
อื่นจัดเป็นบริวารกฐิน เกิดจากพุทธประสงค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์รับผ้ากฐินเพื่อ
ผลัดเปลี่ยนไตรจีวรเก่า
|